19-22 มิถุนายน 2567

ในยุคของ "การผลิตอัจฉริยะ" ต้องดำเนินการด้าน "สุขภาพและความปลอดภัย" ควบคู่กันไป เพื่อเพิ่มทั้งประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพชีวิตของพนักงาน

- การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานทุกคนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมาก  
-หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะมีบทบาทในการทำหน้าที่ทดแทนแรงงานโดยเฉพาะงานที่เสี่ยงและเป็นอันตรายต่อชีวิต
- AI ช่วยในเชิงคาดการณ์ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ทำให้ป้องกันการสูญเสียและลดต้นทุน
- การทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างผู้รับเหมา ก็จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาระบบการจัดการผู้รับเหมาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยภายในโรงงาน

- ซอฟต์แวร์เตือนภัยพิบัติจะช่วยให้สถานประกอบการรับแจ้งเตือนเหตุการณ์เลวร้ายและดำเนินการรับมือได้อย่างทันท่วงที

ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 เราจะได้เห็นการนำเทคโนโลยีหรือโซลูชันที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยมาใช้ในการปฏิบัติงานและให้ข้อมูลเชิงลึกแก่พนักงานมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถเพิ่มผลผลิต ระบุและแก้ไขปัญหาการหยุดทำงานของเครื่องจักร และแม้แต่คาดการณ์ปัญหาการผลิต เพื่อให้สามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

 

ท่ามกลางการพัฒนาอย่างรวดเร็วของการผลิตอัจฉริยะ แรงงานจะยังคงเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของทุกบริษัท การตรวจสอบสุขภาพและความปลอดภัยจะช่วยปรับปรุงขวัญและกำลังใจของพวกเขา แม้กระทั่งเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพของบริษัทโดยรวม

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่น่าสนใจที่ตอบโจทย์ทั้ง Smart x Safe ที่โรงงานโรลส์-รอยซ์ นำมาใช้ คือ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์สร้างภาพ 3 มิติ ช่วยให้พนักงานตระหนักถึงสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและอันตรายที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิงช่วยในการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และการใช้แขนหุ่นยนต์เพื่อทดแทนกำลังคนในงานที่เสี่ยงและเป็นอันตรายต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เช่น การทำงานของเตาหลอม เป็นต้น

ด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในโรงงาน 4.0 คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน/เชิงคาดการณ์โดยใช้ AI ป้องกันการสูญเสียและลดต้นทุน การส่งเสริมความปลอดภัยของคนงานผ่านระบบการจัดการผู้รับเหมา ตลอดจนการตรวจสอบการดำเนินงานระยะไกลแบบรวมศูนย์ เป็นต้น

ตัวอย่างของระบบการจัดการผู้รับเหมาของฟูจิตสึที่เรียกว่า CMS ซึ่งจะบันทึกโปรไฟล์ดิจิทัลของผู้รับเหมาแต่ละราย ซึ่งรวมถึงข้อมูลทั่วไป ทักษะ และประวัติการทำงานของผู้รับเหมา  รวมถึงซิงค์กับฐานข้อมูลบันทึกการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยของผู้รับเหมาแต่ละราย ขณะเดียวกันมีระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์  ที่มีการกำหนดขอบเขตเสมือน หรือ การกำหนดรั้วเสมือน (Geo-fencing) รวมอยู่ด้วย ทำให้สามารถติดตามและตรวจสอบตำแหน่งผู้รับเหมาได้จากศูนย์ปฏิบัติการระยะไกลในส่วนกลาง ช่วยให้มั่นใจว่าผู้รับเหมาปฏิบัติงานตามคำสั่ง ไม่หลงทางในพื้นที่หวงห้ามของโรงงาน หากผู้รับเหมาเข้าไปในสถานที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต จะส่งสัญญาณเตือนไปยังศูนย์ปฏิบัติการระยะไกลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อนำตัวผู้รับเหมาออกมา

นอกจากนี้ เทคโนโลยีการผลิตที่มาพร้อมกับความปลอดภัย ยังหมายรวมถึงการป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ด้วยการเชื่อมต่อสัญญาณเตือนด้านสิ่งแวดล้อม เซ็นเซอร์ อุปกรณ์ ผู้คน รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ไว้ในที่เดียว และแจ้งเตือนถึงสิ่งที่ต้องทำตามลำดับขั้นตอน ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หรือภัยพิบัติใด ๆ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์จะช่วยให้มองเห็นความพร้อมใช้งานของสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีอยู่และกระบวนการบำรุงรักษาได้ดีขึ้น 

โปรดติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโซลูชั่นเพื่อโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมเตรียมอัพเดทเทรนด์และนวัตกรรมสุดล้ำได้ในงาน “แฟ็กเทค 2023” โดยอาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ งานแสดงสินค้าแห่งเดียวในอาเซียนเพื่อการก่อสร้าง ซ่อมบำรุง บริหารทรัพยากรและเทคโนโลยีทุกประเภทที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21-24 มิถุนายน 2566 นี้  ณ ไบเทค บางนา


ที่มา
https://www.rolls-royce.com/country-sites/sea/discover/2019/smarter-safety-for-smarter-manufacturing.aspx
https://www.fujitsu.com/th/en/themes/enabling-digital/asia/smart-factory/index.html?fbclid=IwAR2ozrUikEQ5T91CsZL34Q_ylF1tTC8N30GInoEVhZnpwW1MDqdTUI__fGQ